ผู้ติดตาม

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561

ไก่ชนพม่าล้อ

จุดเด่นของไก่ชนพม่าสายพันธุ์ม้าล่อ

ณ.เวลา นี้นั้นไก่ชนสายพันธุ์ม้าล่อได้ถูกการพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง จากบรีดเดอร์ไก่ชนในเมืองไทย เพื่อต่อกรกับ ไก่ชนเชิง ไก่ชนเหล่าป่าก๋อย หรือแม้กระทั่งไก่ชนสายพันธุ์พม่าด้วยกันเอง ไก่ชนม้าล่อ ได้มีการพัฒนาให้มีจิตใ จหนักแน่นมีเบอร์แข้งที่โหด หนักหน่วง ออกอาวุธที่ไวและชัดเจนกว่าเดิม ไม่ ห่วงที่จะออกวิ่ง ออกล่อเหมือนแต่ก่อนเป็นที่ถูกใจของบรรดานักเล่น และนักเลงไก่ชนในสนาม เมื่อไก่ชนม้าล่อชิงจังหวะตีเข้าเหลี่ยมหู เหลี่ยมตา แล้วพาคู่ต่อสู้ออกวิ่งเหมือนไก่ขาเป๋

บทบาทของไก่ชนม้าล่อ

ไก่ ชนม้าล่อที่ดีนั้นต้องเป็นไก่ชนที่มีสปีดขาดี วิ่งจริง หนีไกล ที่สำคัญต้องมีพื้นฐานของความแม่น ไก่ชนม้าล่อนั้นถ้าขาดความแม่นแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ในการใช้งาน เป็นได้ก็แค่ไก่นวมตัวหนึ่งเท่านั้นเอง วิ่งแล้วต้องตบ ตบแล้วมอง มองแล้ววิ่ง ไม่ให้คู่ต่อสู้ได้เข้าประชิดตัว เก็บคู่ต่อสู้ได้ให้รีบเก็บ จุดนี้แหละถือว่าเป็นหัวใจสำคัญมากเหมือนกัน คู่ต่อสู้จะตายอยู่แล้วยังจะออกวิ่งล่ออีกใช้ไม่ได้

ม้าล่อที่ดีต้องตีแผลไหน

ด้วย ลีลาของไก่ชนพันธุ์ม้าล่อที่มีชั้นเชิงที่เฉียบขาด แล้วลูกตีแบบไหนที่ตีแล้วโดนได้ใจมากกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นแผลหู , แผลตา(วงแดง) , แผลกระเดือกคอเชือด , แผลลำตัวซอกคอ ถือว่าทุกๆแผลที่กล่าวมานั้นเป็นแผลตาย แผลครูทั้งหมด ขอให้ตีจุดเดิมเข้าเป้าบ่อยๆก็ถือว่าใช้ได้

ลักษณะของไก่ชนม้าล่อที่ดีคือ

1. ไก่ชนม้าล่อต้องออกเร็ว จังหวะออกตัวต้องดี บางตัวออกตัวไม่ดีจะโดนเขาทำก่อนค่อยวิ่งได้แบบนี้ไม่ดีครับ
2. ไก่ชนม้าล่อขว้าง ต้องแม่น หนักหวังผล บางตัวเป็นไก่ชนลูกผสมไม่ค่อยขว้าง แต่ตีหนัก ๆ แบบนี้ก็ถือว่าใช้ได้ครับ คือเขาวิ่งตามมาเราดักดึงทีให้หยุดแบบนี้ถือว่าใช้ได้ครับ โดยเฉพาะพวกรอยโต ๆ
3. ไก่ชนม้าล่อต้องมีโครงสร้างที่ดี กระดูกใหญ่ครับ พวกเจ้าเนื้อจะเหนื่อยง่ายไม่เหมาะสมเป็นไก่เชิงนี้ครับ ดังนั้นเวลาเลือกไก่ชนม้าล่อต้องดูเรื่องโครงสร้างด้วย
4. ไม่โดดสังเวียน ไก่ชนม้าล่อที่ดีวิ่งไปต้องชำเลืองดูคู่ต่อสู้ไป ไม่ใช่ตั้งหน้าวิ่งอย่างเดียว ต้องเป็นไก่ชนที่คอยหาจังหวะทำตลอด

สาระความรู้ไก่พม่า

        เมื่อเราพูดถึงเรื่องไก่ชนก็คิดได้เลยว่าไก่ที่เลี้ยงไว้เป็นไก่ชนก็จะมีไก่สายพันธุ์ไทยกับสายพันธุ์ไก่พม่า ซึ่งในอดีดประวัติศาสตร์ของไทยจารึกไว้ว่าไก่ที่โดงดังเป็นตำนานเล่าขานจนถึงปัจจุบันก็คือเหลืองหางขาว  ไก่ของพระนเรศวรนั้นเอง แต่ปัจจุบันกับอดีดมีการเลี้ยงไก่ชนที่แตกต่างกันออกไปตามทัศนคติของผู้เลี้ยงที่จะชอบลีลาชั้นเชิงไหน มีการเพาะเลี้ยงและปรับปรุงพันธุ์กันมากของค่ายต่างๆๆ แต่ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนักที่จะประสบความสำเร็จทุกครั้งไป ปัจจุบันไก่ที่นิยมเลี้ยงกันมากจะเป็นไก่ลูกผสมไก่ไทยกับไก่พม่าระดับสายเลือดก็แล้วแต่ค่ายที่จะมีเทคนิควิธีการเพาะ....ถ้าจะพูดถึงสายพันธุ์ไก่พม่าที่มีชื่อเสียงมานานก็คงหนีไม่พ้นไก่พม่าแม่สะเรียงจังหวัดแม่ฮ่องสอน ทีมีลักษณะทีโดดเด่นในเรื่องของความฉลาดด้านชั้นเชิงที่ปราดเปรียว และการแทงคู่ต่อสู้ที่ถี่และจัด  โดยเฉพาะตาหรือวงแดงที่รู้ๆๆกันอยู่ของผู้เลี้ยงไก่ชน  สายพันธุ์ไก่พม่าแม่สะเรียง หรือเหล่าไก่พม่าแม่สะเรียงจากประสบการของผู้เขียนที่ชื่นชอบ  และสนใจการเลี้ยงไก่ชนมาตั้งแต่เด็กและเริ่มเพาะเลี้ยงมาจนถึงปัจจุบันเกือบ 20 ปี พอที่จะเขียนถึงไก่พม่าแม่สะเรียงที่มีการเลี้ยงอยู่ 4 เหล่าที่นิยมเลี้ยงกันอย่างชัดเจนจนถึงปัจจุบันคือ


1. เหล่าเจ้าหงอนหมูบ หรือภาคกลางเรียกหงอนเหงือก ดังรูปภาพ


ลักษณะเด่น
- โครงสร้าง มีหัวกะโหลกใหญ่ท้ายทอย(หง่อน)กว้างกว่าเหล่าอื่น ลำต้วกว้างและลึกคล้ายไก่ไทย ก้นแหลมคล้ายปลีกล้วย
- แข้ง มีสีขาวอมเหลือง แข่งใหญ่ด้านหน้าเหลี่มหลังกลม เดือยใหญ่ ความสุงปานกลาง
- สี มีขนสีเหืองทองออกแดง หางทรงพุ่มกว้าง มีหางพัด
- เชิง ลีลาเป็นไก่เชิงคุมบนหัวโยกไปมา เชิงรับไม่เดินเข้าหาคู่ต่อสู้  ลำหนัก  สาดกระดานแรง ตีหัวสลับลำตัว อดทน และอึด ปัจจุบันมีการพัฒนาเชิงทีหลากหลายเป็นลูกผสมพม่า แต่ยังคงลักษณะของหงอนหมูบไว้ให้เห็นชัดเจน

2. เหล่าเจ้าประดอง

  


ลักษณะเด่น
- โครงสร้าง มีหัวกะโหลกเล็กเรียวยาวท้ายทอย(หง่อน)แคบเหมือนเหยี่ยว หงอนชี้แหลม    ลำต้วทรงกระบอกคล้ายท่อนไม้
- แข้ง มีสีดำอมเขียว แข่งกลมยาว เดือยใหญ่ปานกลาง รูปร่างสุงปราดเปรียว
- สี มีขนสีสาออกเหลือง หางทรงกระบอก
- เชิง ลีลาเป็นไก่เชิงบนหัวโยกลอดไปมา เชิงรับไม่เดินเข้าหาคู่ต่อสู้  ลำหนักปานกลาง   ตีหัว และแทงจัด ปัจจุบันมีการพัฒนาเชิงเป็นลูกผสมพม่า แต่ยังคงลักษณะเชิงเดิม และหงอนชี้ไว้ให้เห็นชัดเจน


3. เหล่าเจ้าหัวจุก


ลักษณะเด่น
- โครงสร้าง มีหัวกะโหลกสั้นท้ายทอย(หง่อน)กว้างสั้นกว่าเหล่าอื่น ลำต้วเล็กทรงกระบอกคล้ายท่อนไม้ ก้นแหลม
- แข้ง มีสีดำอมเขียว แข่งเล็กกลม เดือยเล็ก
- สี มีขนสาออกเขียว หางทรงกระบอกมีหางพัด หัวจุกเรียว
- เชิง ลีลาเป็นไก่ลอดไปมา เชิงเดินสาดแข่งเข้าหาคู่ต่อสู้  ลำเบา  สาดแข่งถี่ ตีหัวสลับคาง และแทงจัด ปัจจุบันมีการพัฒนาเชิงทีหลากหลายเป็นลูกผสมพม่า แต่ยังคงลักษณะเชิงเดิม และหัวจุกไว้ให้เห็นชัดเจน

    
4. เหล่าหม่นมันดาเลย์


ลักษณะเด่น
- โครงสร้าง มีหัวกะโหลกใหญ่ท้ายทอย(หง่อน)กว้างปานกลาง ลำต้วกว้าง  และก้นแหลมคล้ายปลีกล้วย
- แข้ง มีสีขาว แข่งใหญ่กลม เดือยใหญ่ ความสุงปานกลาง
- สี มีขนสีหม่นออกขาวเหลือง หางทรงพุ่มกว้าง มีหางพัด
- เชิง ลีลาเป็นไก่เชิงโยกล่างไปมา เชิงรับไม่เดินเข้าหาคู่ต่อสู้  ลำหนัก  สาดกระดานแรง ตีหัวสลับลำตัว อดทน และอึด ปัจจุบันมีการพัฒนาเชิงทีหลากหลายเป็นลูกผสมพม่าม้าล่อสั้น ม้าล่อยาว  แต่ยังคงลักษณะของสีขนไว้ให้เห็นชัดเจน

        จากทั้งหมด 4 เหล่ามีข้อดีและลักษณะเด่นที่แตกต่างกันออกไปไก่พม่าแม่สะเรียงก็เป็นที่ยอมรับกันทุกเหล่ามีการสังซื้อและสังจองกันทั่วทุกภาคแล้วแต่ความชอบที่จะเลือกเล่นของแต่ละคน
        จากที่ผู้เขียนเคยสอบถามจากผู้ติดต่อซื้อไปเล่นพบว่า ที่เขาชอบเหล่าแม่สะเรียงมีข้อดีคือ  ความฉลาดไอคิวแก้เชิงได้  ตีแต่ตาหู  และแทงจัดฟื้นตัวเร็วเมื่อเปรียบเทียบจากไก่พม่าทีอื่นที่เคยสังซื้อมาเล่นเหมือนกันไม่ว่าภาคเหนือด้วยกันเอง 

ไก่ชนพม่าล้อ

จุดเด่นของไก่ชนพม่าสายพันธุ์ม้าล่อ ณ.เวลา นี้นั้นไก่ชนสายพันธุ์ม้าล่อได้ถูกการพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง จากบรีดเดอร์ไก่ชนในเมืองไทย...